วันอาทิตย์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2558

ช้าง กับประเพณี และประวัติศาสตร์ศาสตร์ ชาติไทย





ประเทศไทยเป็นชาติหนึ่งที่มีประเพณีที่ถือปฏิบัติมาตั้งแต่สมัยโบราณกาลซึ่งในประเพณีเหล่านี้ก็เกิดจากความเชื่อความศรัทธาในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยในประเพณี หรือ พระราชพิธีต่างๆ นี้ก็ได้มีการนำช้างเข้ามาประกอบพิธีเพื่อเป็นมิ่งมงคล
จิตรกรรมภาพวาดของไทยที่ปรากฏในทุกสถานที่ที่สำคัญของเมืองไทยส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับศาสนาความเชื่อ ที่ผู้คนในแต่ละพื้นที่มี งานจิตรกรรมส่วนใหญ่มีความเกี่ยวข้องกับศาสนา โดยเฉพาะในประเทศไทยที่มีการนับถือพุทธศาสนาเป็นส่วนใหญ่
ช้างที่มีชื่ออยู่ในวรรณคดีบาลี ช้างพาหนะของพระอินทร์ ผู้เป็นราชาแห่งเทพชั้นดาวดึงส์ คือ ช้างเอราวัณ เป็นช้างที่มีรูปร่างสูงใหญ่เหมือนภูเขา ผิวกายผ่องดูสดใส เป็นช้างที่มีพลังอำนาจมาก ช้างไอราวัณมีหน้าที่ เป็นช้างพาหนะของพระอินทร์ โดยมีหน้าที่หลายอย่าง เช่น การนำพระอินทร์ออกรบ การทำฝน
พระนางสิริมหามายาสุบิน นิมิตเห็นพระเศวตกุญชร ซึ่งเป็นช้างเผือกขาว , ช้างนาฬาคิรี เป็นช้างที่มีรูปสูงใหญ่ วิ่งเร็ว ดุร้าย เป็นช้างที่พระเทวทัตใช้เป็นเครื่องมือในการทำร้ายพระพุทธเจ้า แต่เมื่อนาฬาคิรี มาเข้าใกล้พระพุทธเจ้า เพื่อทำร้าย แต่กลับกลายเป็นว่าพระพุทธเจ้าทรงแผ่เมตตา จนนาฬาคิรีสงบ
ช้างคิรีเมขล์ เป็นช้างสูงใหญ่ มีกำลังมากเป็นช้างพาหนะของพญามาร ที่แปลงกายเพื่อทำร้ายพระพุทธเจ้า , ช้างปาลิไลยกะ เป็นช้างที่รับใช้พระพุทธเจ้าเมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ที่หมู่บ้านปาลิไลยกะ

ประเทศไทยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศ ปกครองมานานหลายรัชสมัย ซึ่งในการปกครองแต่ละรัชสมัยนั้นก็ได้มีช้างเข้ามาเกี่ยวข้อง ในการปกครองตั้งแต่สมัยโบราณจนกระทั่งปัจจุบัน ช้างถือว่าเป็นสัตว์ที่ช่วยเสริมบารมีของพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์
ตามความเชื่อในทางพระพุทธศาสนาที่ว่า พระพุทธเจ้าทรงเสวยราชย์เป็นพระยาช้าง ที่มีบุญบารมีมากว่า 500 ชาติ จึงถือได้ว่าช้างเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองของคนไทยเลยก็ว่าได้
ในสมัยโบราณมีการใช้ช้างในการทำสงคราม ซึ่งถือว่าช้างนั้นเป็นกำลังสำคัญในการสู้ศึกเพื่อเอกราชของไทยเลยก็ว่าได้ การใช้ช้างในการทำสงครามนั้น พระเจ้าแผ่นดิน หรือแม่ทัพ ก็จะใช้อาวุธของ้าวต่อสู้กันบนหลังช้าง
ส่วนช้างที่ใช้ต่อสู้นั้นก็จะต่อสู้กับช้างของศัตรู ช้างผู้ใดที่มีกำลังมากและสามารถสู้งัดช้างของศัตรู ก็จะเป็นฝ่ายได้เปรียบ เพราะจะทำให้แม่ทัพนั้นสามารถใช้ของ้าวฟันคู่ต่อสู้ได้อย่างสะดวกและได้ชัยชนะ ซึ่งการรับชัยชนะนั้นจะต้องขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งของช้างและแม่ทัพด้วย
สมัยกรุงสุโขทัย พระเจ้ารามคำแหงมหาราชได้ชนช้างชนะขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด ช้างเผือกตัวโปรดของพระเจ้ารามคำแหงมหาราชชื่อ รุจาครี ซึ่งช้างเผือกตัวนี้ทรงให้แต่งด้วยเครื่องคชาภรณ์ แล้วทรงนำราษฎรออกบำเพ็ญกุศลตามพระอาราม ในอรัญญิกเมื่อครั้งที่ทรงครองกรุงสุโขทัย
สมัยกรุงศรีอยุธยา มีช้างเผือกที่มีลักษณะพิเศษที่นำมาเป็นสัตว์คู่บารมีของพระมหากษัตริย์แต่ละรัชกาลจำนวนมาก เมื่อครั้งสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระองค์ได้รับช้างเผือกมาตัวหนึ่งซึ่งถือเป็นช้างเผือกแรกของกรุงศรีอยุธยา เลยก็ว่าได้ จนพระองค์ได้รับพระราชสมัญญาอีกพระนามหนึ่งว่า " พระเจ้าช้างเผือก"

ในสมัยพระมหาจักรพรรดิ ทรงใช้ช้างต่อสู้กับกองทัพของพม่าและได้เกิดตำนาน พระศรีสุริโยทัยขึ้น นอกจากนี้ยังมีการรบบนหลังช้างที่สำคัญกับคนไทยมากที่สุด ซึ่งถือเป็นการกู้เอกราชให้กับประเทศไทยเลยก็ว่าได้นั่นคือในสมัยสมเด็จ พระนเรศวรมหาราช ซึ่งเป็นการรบระหว่างพระองค์ กับพระมหาอุปราชา แห่งกรุงหงสาวดี
โดยช้างที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงใช้ในการทำศึกครั้งนี้คือ เจ้าพระยาไชยานุภาพ และเมื่อได้รับชัยชนะก็ได้สมญานามว่า เจ้าพระยาปราบหงสา ส่วนช้างที่พระสมเด็จพระเอกาทศรถผู้น้องทรงช้างนามว่า เจ้าพระยาปราบไตรจักร
ในสมัยกรุงธนบุรี เมื่อครั้งที่ประชาชนเกิดความแตกแยกข้าศึกเข้าโจมตี พระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเป็นกำลังรวบรวมชาติไทยให้เป็นปึกแผ่นโดยทรงใช้ช้างในการรบด้วย โดยได้ช้างพังเผือก ได้เมื่อครั้งนำกองทัพกรุงไปล้อมเมืองฝาง เจ้าฝางหนีพาช้างไปด้วย กองทัพติดตามได้ลูกช้างนำมาถวาย
ประเพณีของไทยแต่เดิม ช้างเผือกเป็นช้างที่สำคัญในงานพระราชพิธี ซึ่งได้แก่ งานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา และงานพระราชพิธี ฉัตรมงคล การนำช้างเผือก ขึ้นยืนที่แท่นเกยช้างด้านตะวันตกพระที่นั่งดุสิตาภิรมย์ ในพระบรมมหาราชวังเพื่อประกอบ เกียรติยศจะต้องแต่งเครื่องคชาภรณ์ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์มีช้างสำคัญดังนี้

- รัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ช้าง 10 เชือก
- รัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีช้าง 6 เชือก
- รัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีช้างเผือกอยู่ 20 เชือก มีการปรากฏการนำช้างพระที่นั่งยืนแท่นในการรับแขกเมืองไว้
- รัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีช้าง 15 เชือก
- รัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีช้าง 19 เชือก เคย เสด็จไปในพระราชพิธีพิรุณศาสตร์ ซึ่งเป็นพระราชพิธีที่เกี่ยวกับการขอความสมบูรณ์ให้กับต้นข้าวพืชพันธุ์ของประชาชนเมื่อเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ ช้างที่นำมาใช้งานในพระราชพิธีเช่นนี้จะต้องมีการสมโภชขึ้นระวางช้างสำคัญก่อน
ช้างพลายมงคล เป็นช้างในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นช้างที่พระเจ้าเชียงใหม่ ถวายเป็นบรรณาการแด่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีโสกันต์
แต่พระองค์ในเวลานั้นยังทรงพระเยาว์ พร้อมกับประทับอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งจะทรงเลี้ยงช้างก็ไม่สะดวกนัก จึงประทานให้ เจ้าพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์ซึ่งเป็นพระอภิบาลเลี้ยงช้าง และคอยกราบทูลถวายรายงานที่เกี่ยวกับพลายมงคล
ช้างพลายมงคลมาอยู่ที่บ้านเจ้าพระยาเทเวศรฯ หรือที่เรียกกันว่าวังบ้านหม้อ ซึ่งมีบริเวณกว้างขวางมีทางเดินขนาดใหญ่ พร้อมกันนี้ก็เป็นบ้านที่มีคนอยู่มากมาย พลายมงคลเมื่อมาอยู่บ้านนี้ก็รู้สึกครึกครื้นเป็นช้างชอบเล่น
และเป็นที่ชื่นชอบแก่เด็กๆ รวมทั้งลูกๆ หลานๆ ของเจ้าพระยาเทเวศรฯ ด้วย พลายมงคลเป็นช้างที่ฉลาดจึงทำให้เจ้าพระยาเทเวศรฯ รักประดุจลูก พลายมงคลมีคนดูแลชื่อว่า ตาภู่ ซึ่งบุคคลทั้งสองนี้จึงเปรียบเหมือนเป็นพ่อของพลายมงคลเลยก็ว่าได้
- รัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ช้าง พระเศวตวชิรพาหะ
- รัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ช้าง พระเศวตคชเดชน์ดิลก
ช้างเผือก เป็นคำเรียกช้าง ซึ่งมีผิวหนังเป็นสีชมพูแกมเทา อันเป็นสีที่ผิด แปลกไปจากสีของผิวหนังช้างธรรมดา (ปกติเป็นสีเทาแกมดำ) ดังนั้น คำว่าช้างเผือกตามความ หมายที่เราเข้าใจกันจึงอาจจะเป็นทั้งช้างซึ่งมีมงคลลักษณะครบหรือไม่ครบก็ได้
ทางราชการจึงได้กำหนดศัพท์ที่ใช้เรียกชื่อช้างซึ่งมีลักษณะพิเศษขึ้นใหม่ ตามพระราชบัญญัติรักษาช้างป่า พุทธศักราช 2465 มาตรา 4 โดยระบุไว้ว่า "ช้างสำคัญ" ให้พึงเข้าใจว่า ช้างที่มีมงคลลักษณะ 7 ประการ
คือ ตาขาว เพดานขาว เล็บขาว ขน ขาว พื้นหนังขาว (หรือสีคล้ายหม้อใหม่) ขนหางยาว อัณฑะโกศขาว (หรือสีคล้ายหม้อใหม่) ส่วน "ช้างสีประหลาด" ให้พึงเข้าใจว่า ช้างที่มีมงคลลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดใน 7 อย่าง
"ช้างสำคัญ" ก็คือ ช้างเผือกที่มีลักษณะครบถ้วน สำหรับช้าง เผือกตามความหมายของคนทั่ว ๆ ไป ซึ่งส่วนใหญ่สังเกตจากลักษณะสีของผิวหนังนั้น อาจไม่ใช่ช้างสำคัญ หรือช้างเผือกที่มี ลักษณะครบถ้วนก็ได้
เพราะสีของช้างเป็นแต่เพียงมงคลลักษณะข้อ 1 ในจำนวนมงคลลักษณะ 7 ข้อ ซึ่งเข้าเกณฑ์ที่เรียกว่า "ช้างสีประหลาด" เท่านั้นความหมายคำว่า "ช้างเผือก" ของราชการ จึงต่างกับประชาชน
ลักษณะสำคัญของช้างเผือก
เป็นช้างพลายรูปงาม งาขวา - ซ้ายเรียวงาม กายสีดอกบัวแดง ขนตัวขุมละสองเส้น ขนโขมด สีน้ำผึ้งโปร่ง ขนบรรทัดหลังสีน้ำ ผึ้งโปร่งเจือแดง ขนหูสีขาว ขนหางสีน้ำผึ้งเจือแดงแก่ ตาขาวเจือเหลือง เพดานปากขาวเจือชมพู อัณฑะโกศขาวเจือชมพู เล็บขาว เจือเหลืองอ่อน หูและหางงามพร้อม เสียงเป็นศัพท์แตรงอน
- ในสมัยรัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช มีช้างเผือกมากถึง 10 เชือก คือ
- พระเศวตอดุลยเดชพาหน
- พระเศวตวรรัตนกรี
- พระเศวตสุรคชาธาร
- พระศรีเศวตศุภลักษณ์
- พระเศวตศุทธวิลาศ
- พระวิมลรัตนกิริณี
- พระศรีนรารัฐราชกิริณี
- พระเศวตภาสุรคเชนทร์
- พระเทพรัตนกิริณี
- พระบรมนขทัศ
เรียนรู้เรื่องช้าง คือ การเรียนรู้จารีตประเพณี ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ของบรรพบรุษของชนเผ่าไทย ที่ทำให้คนไทยทุกคน มีแผ่นดินได้อยู่อาศัย มาจนบัดนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น