วันเสาร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2557
เจ้าหญิงฝรั่ง แห่งรัฐฉาน (ไทยใหญ่)
ขอนำเรื่องราวชีวิตของแหม่มฝรั่งตาน้ำข้าวที่ดุจเทพนิยายมาเล่าสู่กันฟัง จากคนธรรมดากลายเป็นมหาเทวีของผู้ครองนครที่มั่งคั่งไปด้วยลาภยศเงินทองและสุดท้ายก็หายสิ้นไปทุกสิ่งอย่างกลายเป็นคนธรรมดาดังเดิม
เมื่อก่อนตอนรัฐฉานของพม่ายังตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษอยู่ ได้มีเจ้าฟ้าแห่งเมืองสีป้อมีพระนามว่าเจ้าจ่าแสงได้ไปศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและได้พบรักกับสาวสามัญชนชาวออสเตรียที่ไปศึกษาวิชาการพยาบาลที่มีชื่อว่า อิงเง เซอร์เจน ทั้งคู่ได้พบรักกันและได้แต่งงานกันที่แผ่นดินอเมริกา แต่เจ้าฟ้าจ่าแสงก็ไม่ได้บอกถึงฐานะที่แท้จริงของตัวเองให้กับแหม่มอิงแงได้ทราบ
เมื่อศึกษาจบ เจ้าฟ้าจ่าแสงกับแหม่มอิงแง ก็ได้เดินทางกลับไปยังแผ่นดินเกิดของเจ้าฟ้าจ่าแสง เมื่อเดินทางถึงพม่า ก็มีผู้คนจากเมืองสีป้อแห่งรัฐฉานมารอต้อนรับอย่างคับคั่ง จึงสร้างความแปลกใจให้กับแหม่มตาน้ำข้าว ว่า กลุ่มคนพวกนี้มารอตอนรับใคร และคนผู้นั้นคงจะเป็นผู้ที่มีความสำคัญเป็นแน่แท้ คนถึงได้ออกมารอคอยมากขนาดนั้น โดยที่หารู้ไม่ว่าคนที่เขามาคอยต้อนรับนั้นคือสามีของตนเอง ฝ่ายเจ้าฟ้าจ่าแสงก็ได้เฉลยว่าบุคคลผู้นั้นก็คือตนเองและได้เฉลยว่า ตนเองนั้นเป็นเจ้าฟ้าปกครองเมืองสีป้อแห่งรัฐฉานนั่นเอง เมื่อแหม่มฝรั่งได้ทราบความจริงก็ตกใจและงอนไปด้วยว่าทำไมถึงไม่ได้บอกให้ตนเองรู้บ้าง
ตามที่อาจาร์ยผมเล่าให้ฟังเหตุผลที่งอนไม่ได้งอนพราะไม่บอกความจริงและปิดบังความลับว่าเป็นเจ้าฟ้า นะ แต่เขางอนว่าเป็นเจ้าฟ้าแล้วทำไมไม่บอกตั้งแต่แรก จะได้แต่งตัวให้งามเลิศสมกับฐานะของภรรยาของเจ้าฟ้าปกครองเมืองและจะได้ไม่อายเขา เมื่อกลับไปถึงเมืองสีป้อ แหม่มฝรั่งอิงแงก็ได้รับการสถาปนาเป็น มหาเทวีแห่งสีป้อพระนามว่า "ทุซานดี้"
เมืองสีป้อนี้เป็นเมืองที่อยู่ห่างไกลรัฐฉานพอสมควร และไม่เจริญเทียบเท่า แต่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรณ์แร่ เช่น ทองคำ พลอย
เมื่อได้เป็นมหาเทวีแล้วชีวิตก็ราวกับฝันมีข้าทาสบริวารล้อมรอบชีวิตเป็นสุขและได้ให้กำเนิด ราชธิดา 2 พระองค์ แต่ก็ไม่ได้ทิ้งเรื่องการช่วยเหลือประชาชน เจ้าฟ้าจ่าแสงก็ได้พัฒนาบ้านเมืองทางด้านต่าง ๆ เช่นการศึกษา การปกครอง ระบบเศรษฐกิจ ส่วนมหาเทวีทุซานดี้ ก็ได้ช่วยพัฒนาด้านสุขอนามัย การแพทย์ การพยาบาล ของชาวเมือง แต่ความสุขของชีวิตคนเรามันมักจะไม่สมบูรณ์แบบ ไปทั้งหมด เมื่อ ประเทศอังกฤษได้ยอมปลดปล่อยพม่าเป็นอิสระ และชนกลุ่มต่าง ๆ ได้ทำสนธิสัญญาปางโหลง ว่าด้วยรัฐต่าง ๆ ของพม่านั้นยอมอยู่ภายใต้การปกครองของพม่าเป็นเวลา 10 ปี เมื่อหลังจากครบสัญญาแล้วก็แยกตัวเป็นอิสระต่ิอกันได้
แต่เมื่อ ปี ค.ศ.1962 หรือ ปี พ.ศ.2505 ระบบที่ปกครองด้วยเจ้าฟ้าของเมืองต่าง ๆ ในรัฐไทใหญ่ก็มีอันต้องล่มสลายไป เมื่อนายพลเนวิน ได้ทำการปฏิวัติยึดอำนาจและตั้งตั้งเป็นรัฐบาลทหารและฉีกสัญญาไม่ยอมให้รัฐต่าง ๆ แยกตัวเป็นอิสระ ทางด้านเจ้าฟ้าเมืองต่างๆ ถูกรัฐบาลเนวินกำจัดเพราะไม่ต้องการให้รัฐฉานแยกไป ปกครองตัวเองตามที่ได้สัญญาไว้ และได้จับเจ้าฟ้าเมืองต่าง ๆ ของรัฐฉานรวมทั้งเจ้าฟ้าจ่าแสงใว้ด้วยและก็ได้หายสาบสูญอย่างไร้ร่องรอย ซึ่งคาดว่าน่าจะโดนสำเร็จโทษไปหมดนั่นและ ส่วนทางราชเทวีทุซานดีกับพระราชธิดาก็ถูกคุมขังอยู่ในหอหลวงของเมืองสีป้อ ก่อนจะถูกผลักดันออกจากประเทศพม่าโดยทรัพย์สินทั้งหมดในราชวังนั้นได้ถูกทางการพม่ายึดไปหมดเหลือติดตัวเพียงแค่ไม่กี่ชิ้น เช่น แหวนที่ได้พระราชทานจากเจ้าจ่าแสง และนั้นคือชีวิตที่เหมือนฝันของ มหาเทวีทุซาดี้ หรือ อิงเง เซอร์เจน ผู้ที่เคยเป็นมหาเทวีของเมืองสีป้อแห่งรัฐฉาน รวมแล้ว อิงแง เชอร์เจน ได้ใช้ชีวิตอยู่ในเมือง สีป้อ รัฐฉาน ประเทศพม่า ประมาณ 8 ปี
เกร็ดความรู้
1.สมัยก่อนรัฐฉานของพม่ามีเมืองอยู่ 33 เมือง แต่ละเมืองจะมีเจ้าฟ้าปกครองอยู่
2.สนธิสัญญาปางโหลง มีผู้นำในการร่างคือ นายพล อ่องซาน หรือ อู อ่องซาน ผู้เป็น บิดาของนาง อ่องซ่าน ซูจี และได้ถูกลอบสังหารหลังจากการร่างสัญญาปางโหลง
3.สนธิสัญญาปางโหลง เป้นข้อตกลงที่ว่า รัฐ และ ชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ จะมาอยู่ภายใต้การปกครองของพม่า เป็นเวลา 10 ปี เมื่อครบ 10 ปีแล้ว แต่ละรัฐจะแยกไปปกครองตนเองได้ แต่ก็ถูกยกเลิกด้วยการยึดอำนาจทางการทหารของนายพล เนวิน และด้วยเหตุผลนี้เอง จึงทำให้ช่วงก่อนพม่ามีเหตุการไม่สงบมีการรบกันของชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ กับรัฐบาลพม่า อยู่เป็นประจำ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ดีจังท
ตอบลบ